บทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเสนอความรู้ให้ผู้เรียนเป็นขั้น ๆ ในแต่ละขั้นจะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบพร้อมเฉลย คำตอบของผู้เรียนนั้น ถูกหรือผิด แต่ละลำดับขั้นเรียบกว่ากรอบหรือเฟรม โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1.ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างกระตือรือร้น
บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเสนอความรู้ให้ผู้เรียนเป็นขั้น ๆ ในแต่ละขั้นจะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบพร้อมเฉลย คำตอบของผู้เรียนนั้น ถูกหรือผิด แต่ละลำดับขั้นเรียบกว่ากรอบหรือเฟรม โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1.ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างกระตือรือร้น
2.ผู้เรียนทราบผลการเรียนทันทีที่แสดงพฤติกรรมตามคำสั่ง
3.ผู้เรียนได้พบกับความสำเร็จด้วยตนเอง
4.แบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆเรียงจากง่ายไปหายาก
ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
1.บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงมีลักษณะดังนี้
1.1มีข้อความเป็นหน่อยหรือกรอบย่อยๆเฉลี่ยแล้วมีความยาวประมาณ2ประโยค
1.2ให้นักเรียนตอบด้วยคำตอบสั้นๆซึ่งจะมีเฉลยคำตอบในกรอบถัดไป
1.3เสนอความรู้เป็นขั้นสั้นๆจากง่ายไปหายาก
1.4เสนอความรู้เรียงตามลำดับต่อเนื่องกันไปตั้งแต่กรอบแรกจนจบ
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเสขา หรือบทเรียนสำเร็จรูปแบบเลือกตอบ เพราะผู้เรียนต้องเลือกคำตอบที่ดีที่สุด จากตัวเลือกที่มีให้หลายอันตัวบทเรียนมักทำเป็นสาขาแตกแขนงออกไปตามลักษณะคำตอบของนักเรียน นักเรียนทำถูกจึงจะได้รับอนุญาตให้เรียนข้อต่อไป ถ้าทำผิดจะต้องเรียนข้อนั้นจนทำให้ถูกต้อง ลักษณะเด่นของบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา คือมีคำอธิบายว่า “ทำไม” คำตอบของผู้เรียนจึงถูก หรือเพราะ เหตุไรจึงผิด บทเรียนจะดำเนินไปเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับคำตอบของนักเรียน ถ้าผิดก็จะได้รับคำอธิบายเพิ่มเติม ถ้าทำได้ถูกต้องก็จะเรียนบทเรียนอื่น ๆ ต่อไป
หลักในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
1.ควรทำให้บทเรียนมีเนื้อหาสาระมีคุณค่าต่อการเรียนเลือกเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและทันสมัย
2.ควรให้นักเรียนมองเห็นข้อแตกต่างและนำความรู้ที่ได้ไปขยายและใช้ประโยชน์
3.ควรทำบทเรียนให้น่าสนใจ
4.ควรนำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข โดยคำนึงถึงนักเรียน สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาวิชาวิธีสอนค่าใช้จ่ายในการจัดทำและชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
ข้อดีของบทเรียนสำเร็จรูป
1.นักเรียนมีโอกาสได้เรียนด้วยตนเองและสนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.ช่วยให้ครูทำงานน้อยลงพูดน้อยลงมีเวลาเตรียมบทเรียนต่อไป
3.แก้ปัญหาการขาดแคลนครู
4.แก้ปัญหานักเรียนเรียนช้าแต่ถูกเพื่อนๆเยาะเย้ยเมื่อตอบผิด
ข้อจำกัดของบทเรียนสำเร็จรูป
นักเรียนต้องซื่อสัตย์ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนถ้าไม่ซื่อสัตย์จะไม่ได้ผลอีกทั้งไม่ส่งเสริมคุณธรรมที่ดี
1)การเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปผู้เรียนต้องเข้าใจวิธีการเรียนอย่างชัดเจนหากไม่เข้าใจก็จะได้ผลน้อย
2)การมีวินัยของผู้เรียนโดยปฏิบัติตามคำสั่งของบทเรียนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แต่ถ้าหากตัวผู้เรียนขาดวินัยก็จะทำให้การเรียนด้วยวิธีนี้ล้มเหลว การปรับใช้การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเป็นลักษณะของการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็น สำคัญอยู่แล้วประการสำคัญคือ บทเรียนสำเร็จรูปที่ดีต้องมีขั้นตอนการสร้างที่มีประสิทธิภาพ และจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
ผนวกภาค
วิเคราะห์นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
(ถึงจุดเด่น – จุดด้อย)
การวิเคราะห์นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษาถึงข้อดี
1.มีการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางนอกจากเรียนในตำรา ยังมีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
2.นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้นนักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ง่ายกว่าการเขียนอยู่บนหน้ากระดานให้นักเรียนเรียน
3.ครูจะเปลี่ยนบทบาทโดยสิ้นเชิง กลายเป็นผู้เตรียมประสบการณ์หรือผู้อำนวยการเรียน ผู้ประสานงาน (ให้เด็กทำกิจกรรม) และเป็นผู้ตอบคำถามเท่านั้น
4.ครูได้พัฒนาเครื่องมือ – วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาด้านโสตทัศนวัสดุให้ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพ – ประสิทธิผล
5.นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม ได้อย่างชัดเจน
6.บทเรียนน่าสนใจ เด็กนักเรียนมีความอยากรู้อยากเรียน
7.เด็กนักเรียนได้ทักษะการอ่านและการสังเกต
8.บรรยากาศในชั้นเรียนไม่น่าเบื่อ กว่าการนั่งฟังการอธิบายของครูในชั้นเรียน
9.ลดเวลาในการสอน
10.ประหยัดค่าใช้จ่าย
การวิเคราะห์นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษาถึงข้อเสีย
1.เกิดความแตกต่างทางสังคม เช่น ผู้เรียนในเขตเมืองจะมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีมากกว่าสังคมชนบท
2.การเลือนหายไปของเครื่องมือ – วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาแบบดั่งเดิม เช่น กระดานดำ กระดานชนวน ชอล์กต่อไปสมุดดินสอหายไปเนื่องจากใช้ระบบ ICT ในการศึกษามากขึ้น
3.นักเรียนขาดทักษะด้านการเขียน การคิดเอง การลงมือปฏิบัติและความมั่นใจ
4.ครูและนักเรียนใกล้ชิดกันน้อยลง เพาะมีบทเรียนสำเร็จรูปที่สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง พร้อมกับคำแนะนำจากโปรแกรมเหมือนมีครูสอนเอง
5.ครูจะต้องมีการพัฒนาความรู้อยู่ใหม่ ๆ ต้องทันต่อเหตุการณ์และสามารถนำเอาความรู้ทางเทคโนโลยีมาปรับให้เข้ากับกระบวนการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาให้ตรงตามผู้เรียน
6.การติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็วมากขึ้นผู้เรียนรู้จักเพื่อน ๆ หรือบุคคลอื่นได้รวดเร็ว ทำให้เกิดช่องว่างตรงนี้ชักจูงผู้เรียนไปในทางที่ไม่ดี
ผนวกภาค
วิเคราะห์นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
(ถึงจุดเด่น – จุดด้อย)
การวิเคราะห์นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษาถึงข้อดี
1.มีการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางนอกจากเรียนในตำรา ยังมีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
2.นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้นนักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ง่ายกว่าการเขียนอยู่บนหน้ากระดานให้นักเรียนเรียน
3.ครูจะเปลี่ยนบทบาทโดยสิ้นเชิง กลายเป็นผู้เตรียมประสบการณ์หรือผู้อำนวยการเรียน ผู้ประสานงาน (ให้เด็กทำกิจกรรม) และเป็นผู้ตอบคำถามเท่านั้น
4.ครูได้พัฒนาเครื่องมือ – วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาด้านโสตทัศนวัสดุให้ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพ – ประสิทธิผล
5.นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม ได้อย่างชัดเจน
6.บทเรียนน่าสนใจ เด็กนักเรียนมีความอยากรู้อยากเรียน
7.เด็กนักเรียนได้ทักษะการอ่านและการสังเกต
8.บรรยากาศในชั้นเรียนไม่น่าเบื่อ กว่าการนั่งฟังการอธิบายของครูในชั้นเรียน
9.ลดเวลาในการสอน
10.ประหยัดค่าใช้จ่าย
การวิเคราะห์นวัตกรรมกับเทคโนโลยีทางการศึกษาถึงข้อเสีย
1.เกิดความแตกต่างทางสังคม เช่น ผู้เรียนในเขตเมืองจะมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีมากกว่าสังคมชนบท
2.การเลือนหายไปของเครื่องมือ – วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาแบบดั่งเดิม เช่น กระดานดำ กระดานชนวน ชอล์กต่อไปสมุดดินสอหายไปเนื่องจากใช้ระบบ ICT ในการศึกษามากขึ้น
3.นักเรียนขาดทักษะด้านการเขียน การคิดเอง การลงมือปฏิบัติและความมั่นใจ
4.ครูและนักเรียนใกล้ชิดกันน้อยลง เพาะมีบทเรียนสำเร็จรูปที่สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง พร้อมกับคำแนะนำจากโปรแกรมเหมือนมีครูสอนเอง
5.ครูจะต้องมีการพัฒนาความรู้อยู่ใหม่ ๆ ต้องทันต่อเหตุการณ์และสามารถนำเอาความรู้ทางเทคโนโลยีมาปรับให้เข้ากับกระบวนการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาให้ตรงตามผู้เรียน
6.การติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็วมากขึ้นผู้เรียนรู้จักเพื่อน ๆ หรือบุคคลอื่นได้รวดเร็ว ทำให้เกิดช่องว่างตรงนี้ชักจูงผู้เรียนไปในทางที่ไม่ดี